วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฟาแลนนอฟซีส


กล้วยไม้สกุลฟาแลนอปซีส

กล้วยไม้สกุลนี้ จุดขายอยู่ที่การผสมพันธุ์ ซึ่งสามารถผสมพันธุ์กับกล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง (Doritis) สกุลแวนด้า (Vanda) สกุลรีแนนเธอรา หรือสกุลแมลงปอ (Arachnis) ด้วยคุณค่าในการนำดอกของฟาแลนนอปซิสมาเป็นดอกไม้ประดับแจกัน หรือเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆ จึงทำให้มีผู้คนนิยมปลูกเป็นจำนวนมาก และเพื่อการค้ามากมายครับ

การเจริญเติบโตของกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซีสนี้ จะเจริญเติบโตทางยอด ลักษณะ ต้นสั้น ใบกว้างค่อนข้างรี หนา อวบน้ำรากค่อนข้างใหญ่ ช่อดอกยาว ปกติจะมีใบติดอยู่กับลำต้น 5-6 ใบ

ที่อยู่อาศัยมักอยู่ ที่บริเวณทวีปเอเชียตั้งแต่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นในประเทศเหล่านี้ พม่า ไทย ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์

กล้วยไม้สกุลนี้ที่น่าสนใจ ได้แก่

เขากวางอ่อน ผีเสื้อชมพู (Phalaenopsis lowii) ผีเสื้อน้อย
(Phalaenopsis parishii)
ตากาฉ่อ Phalaenopsis deliciosa (หรือ Phalaenopsis decumbens











ที่มาจาก http://www.suttidaorchid.com


King Cobra



งูจงอาง (King Cobra)

จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นงูพิษขนาดใหญ่ โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 2.5 - 4 เมตร จัดเป็นงูพิษที่มีขนาดยาวที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่ยาวเป็นสถิติโลกมีความยาวถึง 5.59 เมตร เป็นงูจงอางไทย ถูกยิงได้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2467 น้ำหนักประมาณ 6 - 10 กิโลกรัม มีลูกตาดำและกลม หัวใหญ่กลมทู่ สามารถแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า ลำตัวเรียวยาว ว่ายน้ำเก่ง มีหลายสีแต่โดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลแดงอมเขียว ท้องมีสีเหลืองจนเกือบขาว มีสีแดงเกือบส้มที่บริเวณใต้คอ มีพิษร้ายแรงแต่ไม่เท่างูเห่า มีผลทางระบบประสาท (Neurotoxin) ที่รุนแรง พิษของงูจงอางสามารถทำให้คนหรือสัตว์ตายได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75% เนื่องจากปริมาณพิษที่ฉีดออกจากเขี้ยวพิษมีมาก งูจงอางมีนิสัยค่อนข้างดุร้าย แต่ถ้าไม่จวนตัวหรือถูกรุกรานก่อนจะไม่ทำร้าย อาหารของงูจงอางคืองูอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า กบหรือตะกวดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาด เล็กเช่นหนู เป็นต้น

งูจงอางจัดอยู่ในสกุล Ophiophagus ซึ่งเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้ โดยมีรากศัพท์จากภาษาละตินมีความหมายว่า "กินงู" ซึ่งหมายความถึงการล่าเหยื่อของงูจงอาง เพราะงูในสกุลนี้ กินงูอื่นเป็นอาหาร พบในประเทศไทย ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยมีมากในป่าจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา และในป่าทุกภาค แต่ชุกชุมทางภาคใต้มากที่สุด ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535